พอได้หลงเข้าไปในวงโคจรอะไรสักอย่าง ก็ไม่วายที่จะใช้เวลาอยู่ตรงนั้นจนลืมตัว ใช่แล้ว… ขณะนี้เรากำลัง
ค้างอยู่ในวังวนของประเทศญี่ปุ่น ความจริงแล้วยังมีเรื่องเล่าอีกมากที่ไม่ได้ถ่ายทอดออกไป และในครั้งนี้จะขอยกเอา
เรื่องราวของ ข้าวหน้าปลาไหล อาหารประเภทข้าว ซึ่งมีความพิเศษหลายประการแทรกซึมอยู่ในนั้น และต้องขอบอก
กับคนที่ยังไม่เคยทานปลาไหลญี่ปุ่นก่อนเลยว่า เป็นข้าวหน้าปลาที่ทานง่ายเพียงลองเปิดใจทานดูสักครั้งเชื่อว่าจะต้อง
หลงเสน่ห์เมนูนี้ทันที จะว่าไปก็ยังจดจำรสชาติที่ทานครั้งแรกได้อยู่เลย
ญี่ปุ่นมีเทศกาลกินปลาไหลอยู่ด้วย
อย่างที่เคยพูดก่อนหน้านี้ว่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีพิธีรีตองในการดำรงชีวิตมาก แม้กระทั่งอาหารการกินก็
จะมีรายละเอียดเล็กน้อย ที่ต้องร่วมกันใส่ใจจนเป็นขนบไปโดยปริยาย ด้วยเหตุนี้จึงมักจะพบประเพณีพื้นถิ่นมากมายที่
แสดงถึงความขอบคุณต่อดิน ฟ้า อากาศ ที่คอยดำรงสมดุลต่อพืชผล ชีวิตคนและสัตว์ หนึ่งในนั้นก็มีเทศกาลกินปลา
ไหลรวมอยู่ด้วย โดยเทศกาลนี้ไม่ได้มีวันที่กำหนดตายตัวแต่มักจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนกรกฎาคมกับต้นเดือน
สิงหาคม ในช่วงเวลาดังกล่าวประเทศญี่ปุ่นกำลังสัมผัสสภาพอากาศของฤดูร้อน
เทศกาลกินปลาไหล เป็นชื่อเรียกง่าย ๆ ของเทศกาล Doyo no Ushi no Hi ซึ่งเป็นเทศกาลที่ริเริ่มขึ้นใน
สมัยเอโดะของญี่ปุ่น เพื่อเป็นการยกย่องนักษัตรวัว โดยมีความเชื่อว่าวัวนั้นเป็นตัวแทนแห่งธาตุน้ำที่สามารถดับพิษร้อน
ให้ผู้คนได้ เมื่อใช้ความเชื่อเรื่องอาหารที่ให้สรรพคุณเป็นยาเย็นมาอ้างอิง จึงมีพ่อค้าปลาไหลคนหนึ่งจุดประกายความ
คิดนำเสนอ ให้บรรจุปลาไหลเข้าเป็นอาหารที่จะต้องทานในช่วงเทศกาล Doyo no Ushi no Hi ด้วย และด้วยเหตุนี้ช่วง
เข้าฤดูร้อนของญี่ปุ่น จึงมีการจัดเทศกาลกินปลาไหลเป็นประจำเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นช่วงเวลาหลักร้อยปีเห็นจะ
ได้
เมื่อพิจารณาให้ดีแล้ว ข้าวหน้าปลาไหล หรือเมนูปลาไหลที่ผู้คนเลือกทานช่วงฤดูร้อน ไม่ใช่เพราะว่ามีขาย
แค่ช่วงเวลานั้น แต่เป็นกุศโลบายที่จะชักชวนให้ผู้คนหันมาเลือกทานอาหารให้ถูกช่วงเวลา เพื่อสร้างสมดุลที่เหมาะสม
ให้แก่ร่างกาย อย่างในช่วงฤดูร้อนผู้คนอาจจะรู้สึกเพลียหรืออ่อนล้าได้ง่ายกว่าเวลาอื่น การทานปลาไหลช่วยเพิ่มสาร
อาหารบำรุงร่างกาย ทำให้รู้สึกมีพลังในยามที่เหนื่อยอ่อน จึงเหมาะจะเป็นอาหารในกลุ่มธาตุน้ำที่ส่งผลดีต่อร่างกาย
ของผู้คนในช่วงฤดูร้อน
รู้หรือไม่ ? ปลาไหลญี่ปุ่นที่นิยมทานมี 2 ชนิด
ในญี่ปุ่นนอกจากเมนู ข้าวหน้าปลาไหล ก็ยังมีซูชิ ข้าวม้วนสาหร่าย เทมปูระที่ใช้ปลาไหลเป็นวัตถุดิบ แต่ใน
รายละเอียดแบบเจาะลึกลงไปปลาไหลที่มักนำมาใช้ในเมนูอาหารญี่ปุ่นจะมีอยู่ 2 ชนิดหลัก ๆ คือ
– อุนางิ (Unagi) เป็นปลาไหลที่เติบโตในน้ำจืด สัมผัสของเนื้อมีความแน่น เหนียว มีไขมันมาก ปลาไหล
ชนิดนี้นิยมนำมาทาซอสและสลับกับการย่างไฟบนเตาถ่านอย่างใจเย็น จะเสิร์ฟแบบ Donburi คือการวางเนื้อปลาไหล
ที่ย่างแล้วไว้บนข้าวสวยนั่นเอง
– อะนาโกะ (Anogo) ต่างจากอุนางิตรงที่เป็นปลาไหลน้ำเค็ม สัมผัสของเนื้อมีความฟูนุ่ม และไขมันน้อย
ปลาไหลชนิดนี้มักนำมาปรุงเป็นหน้าซูชิ ทำเป็นไส้ข้าวปั้นหรือข้าวม้วนสาหร่ายบ้าง รวมไปถึงการนำมาทอดเป็น
เทมปุระ
ปลาไหล ข้าว และซุป
ในบรรดาเมนูข้าวหน้าต่าง ๆ ของญี่ปุ่นเมนูข้าวหน้าปลาไหล หรือที่เรียกว่า อุนะด้ง ก็เป็นหนึ่งในรายการเหล่า
นั้น โดยทั่วไปเมนู Donburi จะเสิร์ฟมาในชามก้นลึกที่สามารถบรรจุข้าวสวยและอาหารได้พอดี สำหรับเมนูข้าวที่แต่ง
หน้าด้วยปลาไหลย่างเคลือบซอสชิ้นโต ก็เป็นเช่นนั้น ที่ขาดไม่ได้เลยคือต้องมีซุปเสิร์ฟมาคู่กันด้วย ซุปสำหรับเมนูปลา
ไหลย่างจะพิเศษตรงที่ นำตับปลาไหลมาเคี่ยวเป็นซุปด้วยเรียกกันว่า ซุปคิโมะซุย แต่บางร้านก็จะเสิร์ฟเป็นซุปมิโสะ
แทน
เมนูปลาไหลย่างนอกจากการเสิร์ฟมาในชามข้าวแล้วยังมีการเสิร์ฟมาในจูบาโกะด้วย ซึ่งเป็นการวางปลา
ไหลย่างชิ้นใหญ่แบบไม่ได้หั่นไว้บนข้าวสวยบรรจุมาในกล่องข้าวทรงสี่เหลี่ยม สิ่งนี้จะเรียกกันว่าอุนะจู โดยต่างจากอุนะ
ด้งตรงที่ให้ปริมาณอาหารมากขึ้นและราคาสูงกว่า
ฮิตสึมะบุชิ
รู้หรือไม่ว่า ยังมีชุดเมนูปลาไหลย่างอีกรูปแบบหนึ่งที่คนไทยอาจยังไม่รู้จักอยู่ด้วย สิ่งนี้เรียกว่า ฮิตสึมะบุชิ ชุดอาหารที่ว่านี้ เป็นเมนูลือเลื่องของเมืองนาโกย่า จังหวัดไอจิ พูดว่าเป็นหน้าเป็นตาของพื้นที่นี้ก็คงจะได้ ในชุดนี้จะ
ประกอบไปด้วย ปลาไหลย่างชุ่มซอส ซึ่งถูกหั่นเป็นชิ้นพอดีคำวางมาบนข้าวสวยถูกบรรจุมาในภาชนะที่มีลักษณะเหมือนโถข้าว ชามขนาดเล็กสำหรับแบ่ง กาน้ำที่บรรจุน้ำชาหรือน้ำซุปเอาไว้ ทัพพี มีเครื่องเคียงเสริมเป็นสาหร่าย วาซาบิ และ
ต้นหอม
วิธีการทาน ฮิตสึมะบุชิ จะเริ่มจากการแบ่งข้าวพร้อมปลาไหลย่างใส่ชามเล็ก ๆ เป็น 4 ชาม แล้วจะทานตาม
ลำดับโดยเริ่มจากการทานแบบสัมผัสรสชาติต้นตำรับเสียก่อน ลำดับที่สองทานแบบที่ปรุงต้นหอมกับวาซาบิลงไป
ลำดับที่สามให้รินน้ำในกาลงไปในชามข้าว (ร้านอาจจะให้เป็นน้ำชาหรือน้ำซุปดาชิต่างกันไป) หลังจากจบการทาน 3
ลำดับไปแล้วข้าวที่เหลืออยู่เราสามารถเลือกวิธีการทานได้ตามอัธยาศัย เพราะการทาน 3 แบบที่กล่าวไปนั้นเพื่อให้เรา
ได้สัมผัสรสชาติที่แตกต่างก่อนจึงเลือกปักใจกับรสชาติที่ชอบที่สุดนั่นเอง เป็นการทานข้าวหน้าปลาไหล ที่ลูกเล่น
แพรวพราวใช่ย่อยเลย
แล้วหน้าร้อนก็จะเวียนกลับมาเช่นเคย
พอมานึกย้อนดู ใครจะคาดคิดว่าปลาไหลตัวยาวนี้ จะมีเรื่องเล่ามากมายได้ถึงเพียงนี้ เล่าเรื่อง ข้าวหน้าปลา
ไหล กันไปเสียยืดยาว เงยหน้าขึ้นมามองอีกทีปฏิทินของเทศกาลกินปลาไหลก็จะวนกลับมาอีกครั้งแล้ว จวนเจียนเวลา
ที่จะต้องเตรียมซอสและตั้งเตาเพื่อย่างปลาไหลอร่อย ๆ ให้ทันต้อนรับฤดูร้อนครั้งใหม่อีกครั้ง Ufabet เว็บหลัก